หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมความปลอดภัยในสถานที่ ปฏิบัติงานครัวอาหารไทย

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-FLVX-1086A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมความปลอดภัยในสถานที่ ปฏิบัติงานครัวอาหารไทย

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5120 ผู้ประกอบอาหาร 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวางแผนการควบคุม

ความปลอดภัยในครัวไทย ตลอดจนการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและคู่มือการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย การตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงานครัวอาหารไทยให้อยู่ในสภาพพร้อมปฏิบัติงานและปลอดภัย รวมถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

5120 พ่อครัว/แม่ครัว


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20202.01 วางแผนการควบคุมความปลอดภัยในครัวไทยได้  1.1 เลือกมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมกับครัวอาหารไทย  20202.01.01 226196
20202.01 วางแผนการควบคุมความปลอดภัยในครัวไทยได้  1.2 กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่เลือกไว้ตามเอกสาร  20202.01.02 226197
20202.02 จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและคู่มือการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย 1.1 เลือกมาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมกับครัวอาหารไทย  20202.02.01 226191
20202.02 จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและคู่มือการปฏิบัติงานในครัวอาหารไทย 1.2 กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่เลือกไว้ตามเอกสาร  20202.02.02 226192
20202.03 ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงานครัวอาหารไทยให้อยู่ในสภาพพร้อมปฏิบัติงานและปลอดภัย 3.1 ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องครัวที่ใช้ในครัวอาหารไทยให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ 20202.03.01 226194
20202.03 ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงานครัวอาหารไทยให้อยู่ในสภาพพร้อมปฏิบัติงานและปลอดภัย 3.2 ตรวจสอบสถานที่ (ครัวอาหารไทย) ให้มีความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ 20202.03.02 226195
20202.04 ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 4.1 เลือกใช้ยาสามัญที่ถูกต้องกับโรคหรืออาการที่เป็นได้ 20202.04.01 226193

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะแสดงถึงการเข้าใจการสุขาภิบาลอาหาร มาตรฐานขั้นพื้นฐานความปลอดภัยของอาหาร มาตรฐานขั้น

พื้นฐานในด้านความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

2. ความสามารถในการทำเอกสารแสดงรายละเอียดมาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยของสถานที่ทำงานมาใช้ในการปฏิบัติงาน และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการปฏิบัติงานครัวอาหารไทยที่กำหนดให้มา

3. ความสามารถในการทำเอกสารหรือคู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การสุขาภิบาลอาหาร

2. มาตรฐานขั้นพื้นฐานความปลอดภัยของอาหาร

3. มาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน

4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรายละเอียดมาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยของสถานที่ทำงานมาใช้ใน

การปฏิบัติงาน และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการปฏิบัติงานครัวอาหารไทยที่กำหนดให้มา

2. เอกสารหรือคู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบสัมภาษณ์

2. แบบทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

N/A 

วิธีการประเมิน

ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ และใช้แบบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ  ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1)    ขั้นตอน ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน (workplace procedures)

1. มาตรฐานความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน 5ส ,Safety First

2. การใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์งานครัว มีดปอก มีดหั่น

3. เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปั่น

4. เครื่องมือและอุปกรณ์งานครัวพิเศษ ตู้อบแบบผสม (Combi oven)

5. ระบบก๊าซ การปิด-เปิด หัวเตา

6. จัดรวบรวมข้อมูล มาจัดเป็นคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในครัวไทย

7. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวไทย อุปกรณ์ในการหั่น เตรียม หุงต้ม ภาชนะใส่อาหาร

8. ความปลอดภัยด้านสถานที่ พื้น ผนัง เพดาน

9. ยาสามัญ ยาดมแก้หวัด ยาธาตุน้ำแดง (แก้ปวดท้อง) ยาแก้ไอน้ำดำ ยาหยอดตา ยาลดกรด ยาใส่แผลสด โซดามินท์เม็ด (ลดกรด) แอสไพรินเม็ด (แก้ปวด) ทิงเจอร์ฝิ่น การบูร (แก้ท้องเสีย) เหล้าแอมโมเนียหอม (แก้อาการเป็นลม) ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม ด่างทับทิม (สำหรับล้างแผล)

10. อุปกรณ์ทำแผล พลาสเตอร์ปิดแผล ผ้าพันแผล เทปปิดแผล

11. ปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลในผู้ที่ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย การปฐมพยาบาลในผู้ที่ได้รับอันตรายจากสัตว์ การปฐมพยาบาลในผู้ที่ได้รับอันตรายจากพืช การปฐมพยาบาลในผู้ถูกน้ำร้อนลวก 

12. จัดเก็บยาสามัญได้และสะดวกต่อการใช้งาน

2)    สถานที่ทำงาน (work site)

N/A

3)    สภาวะในการทำงาน (operating conditions)

N/A

4)    ข้อมูล/เอกสาร (information/documents)

1. เอกสารรายละเอียดมาตรฐานขั้นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน

2. คู่มือความปลอดภัยในการปฏิบัติงานครัวอาหารไทย

3. เอกสารหรือคู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสัมภาษณ์

18.2 เอกสารที่ใช้ทดสอบ (ภาคทฤษฎี)  

 



ยินดีต้อนรับ