หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบสภาพงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป (Check the condition of general electrical transformer maintenance work)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-JXHR-867A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบสภาพงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป (Check the condition of general electrical transformer maintenance work)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ระดับ 5

ISCO-08     7412 ช่างซ่อมมอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า

                   8212 ช่างพันขดลวดหม้อแปลงไฟฟ้า (transformer)

                   8212 พนักงานประกอบหม้อแปลงไฟฟ้าแสดงโครงสร้าง 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทั่วไป โดยมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า โครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลง ตรวจสอบสภาพโดยรวมของหม้อแปลง ทดสอบ Pre-test/Post-teat ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงสามารถบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเชิงพยากรณ์ได้ตามขั้นตอน


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

มาตรฐานเกี่ยวกับการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC04-5-011-01

ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

1. อธิบายขั้นตอนการทำงานของหม้อแปลง ด้านไฟฟ้า  เป็นตามหลักความปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-01.01 223474
PGS-MC04-5-011-01

ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

2. หาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษา

PGS-MC04-5-011-01.02 223475
PGS-MC04-5-011-01

ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

3. สรุป นำเสนอข้อมูล บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-011-01.03 223476
PGS-MC04-5-011-02

ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-02.01 223477
PGS-MC04-5-011-02

ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

2. ตรวจสอบ ทำความสะอาดและซ่อมแซม ส่วนที่เป็น Porcelain ฉนวนแห้ง และคราบน้ำมัน   ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-02.02 223478
PGS-MC04-5-011-02

ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

3. ตรวจสอบและทดสอบเครื่องมือวัดของ หม้อแปลงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-02.03 223479
PGS-MC04-5-011-02

ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

4. ตรวจสอบและทดสอบ Pre-test/Post-test    ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

PGS-MC04-5-011-02.04 223480
PGS-MC04-5-011-02

ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

5. สรุป นำเสนอข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-011-02.05 223481
PGS-MC04-5-011-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-03.01 223482
PGS-MC04-5-011-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

2. อธิบายหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ทั่วไป  ซึ่งอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหม้อแปลงไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-03.02 223483
PGS-MC04-5-011-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

3. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากเครื่องมือวัดและระบบบันทึกข้อมูล (Event Recorder)

PGS-MC04-5-011-03.03 223484
PGS-MC04-5-011-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

4. ตรวจสอบเครื่องมือวัดหม้อแปลงไฟฟ้าแบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC04-5-011-03.04 223485
PGS-MC04-5-011-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

5. สรุป เสนอแนะข้อมูลสำหรับการวางแผนบำรุงรักษา บันทึกผล และรายงานผล

PGS-MC04-5-011-03.05 223486

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    ความรู้เรื่องเครื่องกลไฟฟ้า  ประกอบด้วยเนื้อหาเรื่องวงจรแม่เหล็ก แม่เหล็กยกของโครงสร้างและหลักการทำงานของเครื่องกลไฟฟ้า โครงสร้างและหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดหนึ่งเฟสและสามเฟส ระบบและอุปกรณ์ประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า

2.    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Instrument) ประกอบด้วยเนื้อหาและหลักการทำงานของระบบเครื่องมือวัด ประเภทอุณหภูมิ วัดระดับความสูง หัววัด Sensor Detector การทดสอบและการปรับแต่ง

3.    ความรู้ระบบป้องกันภายในและภายนอกหม้อแปลงไฟฟ้า ทราบถึงหลักการทำงานของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ป้องกันหม้อแปลง การปรับตั้งอุปกรณ์ป้องกัน

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)    

1.    การเลือกใช้เครื่องมือทั่วไป (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานกับหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงงานเคลื่อยนย้าย ตัดตั้ง และการปรับปรุงสภาพน้ำมันหม้อแปลง

2.    การตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติและการแก้ไขทางกายภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

3.    การแปรผลและการวิเคราะห์ผลทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

4.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

5.    ทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership)

6.    ทักษะการสอนงานเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า

2.    ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดในการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ 

3.    หลักการคำนวณพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและทางกลที่เกี่ยวข้อง เช่นการคำนวนหาค่ากระแสที่พิกัด ค่าแรงทางกลที่กระทำต่อหม้อแปลง

4.    ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษาหม้อแปลไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ 

5.    วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

6.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

7.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ

8.    การเก็บ บำรุง รักษา เครื่องมือทั่วไปและเครื่องมือพิเศษ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการตรวจสอบสภาพหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ 

   (ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการตรวจสอบสภาพบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าทั้งด้านความปลอดภัย และสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า รวมทั้งการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า 

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตรวจสอบเกี่ยวกับความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า

   -   ความสามารถดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า  ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยจะต้องมีความเข้าใจหลักการทำงาน Switching Diagram ความปลอดภัยในด้านไฟฟ้าในการปฏิบัติงานใน Substation & Switchyard 

   -   ตรวจสอบหาปัจจัยความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบำรุงรักษา เช่น ในระหว่างการปฏิบัติงานดำเนินการตามขั้นตอนการทำงานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบต่าง ๆ ของ อุปกรณ์ตัดตอนไฟฟ้า ตามที่กำหนด เป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการปฏิบัติงาน

2.    ตรวจสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า 

   -   ความสามารถในการอธิบายโครงสร้าง และหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

   -   การตรวจสอบทำความสะอาดและซ่อมแซม ส่วนที่เป็น Poreclain ฉนวนแห้ง และคราบน้ำมัน   ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

   -   การตรวจสอบและทดสอบเครื่องมือวัดของ หม้อแปลงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

   -   การตรวจสอบ และทดสอบสภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

3.    บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า 

การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากเครื่องมือวัดและระบบการบันทึกข้อมูล (Event Recorder)  โดยนำผลที่ได้จากการวัดค่าด้วยเครื่องมือวัดทั่วไป และเครื่องมือวัดพิเศษ ทั้งในส่วนที่เป็นการวัดและบันทึกแบบ Online และ Offline มาทำการแปลผลวิเคราะห์และประเมินสภาพอายุการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนการนำข้อมูลจากความผิดปกติในระหว่างการนำเข้าใช้งาน รวมทั้งการทดสอบทางด้านไฟฟ้าในระหว่างงานบำรุงรักษาแบบหยุดตามวาระ (Planned Outage) โดยนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเพื่อใช้ในการวางแผนงานบำรุงรักษาหรือการซ่อมแก้ไขหม้อแปลงไฟฟ้าในอนาคต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1    เครื่องมือประเมิน การตรวจสอบด้านความปลอดภัยของหม้อแปลงไฟฟ้า

   (1)    ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบด้านความปลอดภัยของหม้อแปลงไฟฟ้า

   (2)    ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบด้านความปลอดภัยของหม้อแปลงไฟฟ้า

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์

18.2    เครื่องมือประเมิน การตรวจสอบสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

   (1)    ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การตรวจสอบสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

   (2)    ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพโดยรวมของหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์

18.3    เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

   (1)    ข้อสอบแบบปรนัย เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า

   (2)    ข้อสอบแบบอัตนัย เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า 

   (3)    การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์หม้อแปลงไฟฟ้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงานประกอบการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ