หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-HYGB-894A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระดับ 5

ISCO-08      3122 หัวหน้าแผนกเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

                     7412 ช่างซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า/ช่างปรับตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าได้ตามหลักการและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของงานบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าได้ สามารถบำรุงรักษาเครี่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยพื้นฐานทั่วไป งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า งานในที่อับอากาศ รวมถึงการทำงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดกฏหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ระบุสัญญลักษณ์ความปลอดภัย เลือกใช้อุปกกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการทำงานได้ วิเคราะห์ความเสี่ยงได้ในเบื้องต้นก่อนและระหว่างปฏิบัติงาน ปฏิบัติตนตามขขั้นตอนการปฏิบัติงาน เฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงได้ถูกประเภท และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในสถานการณ์ฉุกเฉินได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

กลุ่มสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

10.1    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

10.2    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2562

10.3    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยฯ เกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. 2564

10.4    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558

10.5    มาตรฐานการดำเนินการและการทดสอบ

10.6    กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS- OC01-7-S01-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความมปลอดภัยพื้นฐาน

1. ระบุหลักการทำงานร่วมกันในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

PGS- OC01-7-S01-01.01 223856
PGS- OC01-7-S01-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความมปลอดภัยพื้นฐาน

2. ระบุอุบัติเหตุและความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติงานได้

PGS- OC01-7-S01-01.02 223857
PGS- OC01-7-S01-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความมปลอดภัยพื้นฐาน

3. ระบุความหมายของสัญญลักษณ์ด้านความปลอดภัยและอธิบายวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง

PGS- OC01-7-S01-01.03 223858
PGS- OC01-7-S01-01

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความมปลอดภัยพื้นฐาน

4. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย ด้านความปลอดภัยในการทำงานบำรุงรักษาเครื่องกำนิดไฟฟ้า

PGS- OC01-7-S01-01.04 223859
PGS-OC01-7-S01-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

1. ระบุหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC01-7-S01-02.01 223860
PGS-OC01-7-S01-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

2. ระบุขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

PGS-OC01-7-S01-02.02 223861
PGS-OC01-7-S01-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

3. ใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ ในงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลได้อย่างปลอดภัย

PGS-OC01-7-S01-02.03 223862
PGS-OC01-7-S01-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

4. ปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมาย ด้านความปลอดภัยในการทำงานบำรุงรักษาเครื่องกำนิดไฟฟ้า

PGS-OC01-7-S01-02.04 223863
PGS-OC01-7-S01-02

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

5. วิเคราะห์ความเสี่ยงเบื้องต้นในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

PGS-OC01-7-S01-02.05 223864
PGS-OC01-7-S01-03

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

1. ระบุสัญลักษณ์ความปลอดภัย และเลือกใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศ

PGS-CC00-5-S01-03.01 224534
PGS-OC01-7-S01-03

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

2. ระบุวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเบื้องต้นได้อย่างปลอดภัยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศ

PGS-CC00-5-S01-03.02 224535
PGS-OC01-7-S01-03

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

3. ระบุขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยในงานที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศ

PGS-CC00-5-S01-03.03 224536
PGS-OC01-7-S01-03

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

4. ใช้งานเครื่องมือตรวจวัด หรือ อุปกรณ์ ในงานที่เกี่ยวข้องกับการอับอากาศได้อย่างปลอดภัย

PGS-CC00-5-S01-03.04 224537
PGS-OC01-7-S01-03

ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

5. ปฏิบัติตามขั้นตอน หรือ ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศ

PGS-CC00-5-S01-03.05 224538
PGS-OC01-7-S01-04

ปฏิบัติงานยกของหนักในงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัย

1. ใช้อุปกรณ์/เครื่องมือ ในการยกของหนัก ในงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

PGS-OC01-7-S01-04.01 226291
PGS-OC01-7-S01-04

ปฏิบัติงานยกของหนักในงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัย

2. ระบุสัญลักษณ์/สี ค่าความปลอดภัยของความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์ยกของหนัก

PGS-OC01-7-S01-04.02 226292

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ความปลอดภัยทั่วไป ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ความปลอดภัยสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานตามหลักการยศาสตร์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษด้านความปลอดภัยในงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

2.    ทักษะการหาปัจจัยความเสี่ยงในงานบำรุงรักษาเครื่องกังหันแก๊ส

3.    ทักษะการเลือกใช้/การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

4.    ทักษะด้านความปลอดภัย/การระวังอันตรายในการทำงาน (Safety awareness)

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

1.    ทักษะการติดต่อประสานงาน ทักษะในการสื่อสาร

2.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

3.    ทักษะการสังเกตสิ่งผิดปกติ ความผิดปกติของเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความปลอดภัย

4.    ทักษะการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานกับอุปกรณ์เครื่องมือทางกล

2.    ขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ และหลักปฏิบัติการทำงานตามหลักการยศาสตร์

3.    ความรู้เกี่ยวกับการประเมินอันตราย/ความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้า

4.    ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้า

5.    ความรู้ในวิธีการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น

6.    ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องเพื่อตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับหน่วยสมรรถนะ (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย 

อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

5.    หลักฐานการผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ และผู้ให้สัญญาณ (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองความรู้ความสามารถจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (ความรู้) (ถ้ามี)

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

   (ง) วิธีการประเมิน

1.   พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา หรือ ใบรับรองฯ เป็นต้น

2.   พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่ หลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะความปลอดภัยนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์และหลักปฏิบัติในการทำงานกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้องและปฏิบัติตามข้อกำหนด/กฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน ตามหน่วยสมรรถนะย่อย

   (ก) คำแนะนำ

-N/A-

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักหลักความปลอดภัย หมายถึง สามารถบำรุงรักษาเครี่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี งานในที่อับอากาศ งานบนที่สูง งานยกของหนัก รวมถึงการทำงานบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยคำนึงถึงหลักการยศาสตร์ 

   -    ปฏิบัติตามข้อกำหนดกฏหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

   -    ระบุสัญญลักษณ์ความปลอดภัย เลือกใช้อุปกกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการทำงานได้ 

   -    วิเคราะห์ความเสี่ยงได้ในเบื้องต้นก่อนและระหว่างปฏิบัติงาน

   -    ปฏิบัติตนตามขขั้นตอนการปฏิบัติงาน

   -    เฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงได้ถูกประเภท และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในสถานการณ์ฉุกเฉินได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1) ข้อเขียนแบบปรนัย 

2) ข้อเขียนแบบอัตนัย 

3) การสัมภาษณ์ 



ยินดีต้อนรับ