หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาระบบควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-FQUK-872A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาระบบควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า ระดับ 4

    ISCO-08    3133 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องมือวัดและควบคุม

                      7233 ช่างซ่อมบำรุงเครื่องมือวัด



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถบำรุงรักษาระบบควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า เชิงป้องกัน (PM) ได้ โดยสามารถอ่านแบบ Piping and Instrumentation Diagram (P&ID), แบบทางไฟฟ้าและคู่มือประกอบ เตรียมเครื่องมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบพื้นที่และประเมินความปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน บำรุงรักษาตามแผนที่ได้รับมอบหมาย สามารถทดสอบอุปกรณ์และประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตรวจสอบรายละเอียดงานและบันทึกงานในระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พลังงานและพลังงานทดแทน  สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

10.1    ประกาศโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring System : CEMS) พ.ศ. 2550

10.2    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552

10.3    กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550

10.4    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

10.5    ข้อกำหนดการสอบเทียบเครื่องมือวัด


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC05-4-001-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบควบคุมโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

1. อ่าน แบบ P&ID, แบบเครื่องกลและแบบไฟฟ้า (Mechanical Drawing and Electrical Drawing) และคู่มือประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC05-4-001-01.01 223548
PGS-MC05-4-001-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบควบคุมโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

2. เตรียมเครื่องมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

PGS-MC05-4-001-01.02 223549
PGS-MC05-4-001-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบควบคุมโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

3. ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้นพร้อมทั้งรายงานรายละเอียดงานก่อนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM)

PGS-MC05-4-001-01.03 223550
PGS-MC05-4-001-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบควบคุมโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

4. ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ตามแผนที่ได้รับมอบหมาย

PGS-MC05-4-001-01.04 223551
PGS-MC05-4-001-01

ปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบควบคุมโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

5. รายงานผลบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) พร้อมทั้งบันทึกในระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

PGS-MC05-4-001-01.05 223552
PGS-MC05-4-001-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

1. อ่าน แบบ P&ID, แบบเครื่องกลและแบบไฟฟ้า (Mechanical Drawing and Electrical Drawing) และคู่มือประกอบได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC05-4-001-02.01 223553
PGS-MC05-4-001-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

2. เตรียมเครื่องมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำหรับการปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

PGS-MC05-4-001-02.02 223554
PGS-MC05-4-001-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

3. ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้นพร้อมทั้งรายงานรายละเอียดงานก่อนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM)

PGS-MC05-4-001-02.03 223555
PGS-MC05-4-001-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

4. ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ตามแผนที่ได้รับมอบหมาย

PGS-MC05-4-001-02.04 223556
PGS-MC05-4-001-02

ปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

5. รายงานผลบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) พร้อมทั้งบันทึกในระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

PGS-MC05-4-001-02.05 223557

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    ความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า

2.    ความรู้พื้นฐานด้านงานบำรุงรักษา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1.    ทักษะการอ่านแบบ P&ID

2.    ทักษะการอ่านแบบไฟฟ้า

3.    ทักษะการอ่านแบบเครื่องกล

4.    ทักษะด้านงานบำรุงรักษาระบบควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

5.    การเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการบำรุงรักษาได้ถูกต้องเหมาะสม

6.    การวิเคราะห์สาเหตุ (กรณีเกิดความผิดปกติ) และกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจาก

   - อุปกรณ์ไฟฟ้า

   - อุปกรณ์เครื่องกล

   - อุปกรณ์ระบบควบคุมและเครื่องมือวัด

   - อื่นๆ 

7.    ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

8.    ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

9.    ทักษะการติดต่อประสานงาน

10.    ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

11.    ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการทำงานของระบบควบคุมและเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า

2.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในงานบำรุงรักษาได้อย่างปลอดภัย

3.    วิธีการใช้เครื่องมือในงานบำรุงรักษา

4.    ทักษะการใช้งานระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS)

5.    ความรู้เรื่องการอ่าน รหัส Kraftwerk Kennzeichen System (KKS Code)

6.    คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

5.    หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษา ระบบควบคุมโรงไฟฟ้า และเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้า เชิงป้องกัน (PM)

   (ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษา โดยต้องทราบถึงหลักของการดำเนินการของงานบำรุงรักษาดังกล่าว

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ระบบควบคุม ประกอบด้วย

   •    Distributed Control System (DCS) 

   Controller Hardware

   -    Power Supplies Module

   -    Central Processing Unit (CPU) (Controller)

   -    I/O Module 

   -    I/O Terminal Board 

   -    Serial Communication Module

   -    Ethernet Communication Module

   Human Machine Interface (HMI) Hardware

   -    Operator Station (OPS) 

   -    Engineering Work Station (EWS)

   -    Interface Card

   -    Operator Keyboard

   -    Monitor (LCD, LED Screen)

   Sequence of Events Server (SOE SVR) 

   Historical Data Server (HDSR) 

   Open Platform Communications Server (OPC-Server)

   Network Hardware

   -    Hub/Switch

   -    Fiber Optic Converters

   -    Master Clock (NTP Timerserver or Signal Distribution Unit for IRIG Signals)

   -    Surge Arrestor between Antenna and Time server

   •    Programable Logic Control (PLC) 

   -    Power Supplies

   -    Control Processing Unit (CPU)

   -    I/O module 

   -    Programming Device

   -    Ethernet Communication Module

   -    Hub/Switch

   -    FO converter

2.    อุปกรณ์เครื่องมือวัด ประกอบด้วย

   •    Pressure Measurments

   -    Pressure Transmitter

   -    Differential Pressure Transmitter

   •    Flow Measurments

   -    Flow Transmitter (Orifice, venturi, nozzle)

   -    Coriolis flow meter

   -    Ultrasonic Flow meter

   -    Turbine meter

   -    Magnetic Flow meter

   •    Sensors

   -    Acceleration, Vibration Sensor

   -    Proximity Sensor

   •    Level Measurments

   -    Level Transmitter

   -    Ultrasonic Level Detector

   -    Radar

   -    Conductivity

   •    Temperature Sensors

   -    Thermocouple 

   -    RTD 

   •    Switch

   -    Pressure Switch

   -    Differential Pressure Switch

   -    Level Switch

   -    Flow Switch

   -    Vibration Switch

   -    Temperature Switch

   -    Limit Switches

   •    Gauge

   -    Pressure Gauge

   -    Differential Pressure Gauge

   -    Sight Flow Indicator

   -    Temperature Gauge

   -    Level Gauge 

   -    Vacuum Gauge

   -    Flow Rota Meter

   •    Safety และ Miscellaneoys Sensor

   -    Gas Detector

   -    Flame, Fire, Smoke, Heat Detector

   -    Tachometers และ Angular Speed Detector

   •    Analyzer

   -    Silica Analyzer

   -    Tubidity Analyzer

   -    pH Analyzer

   -    Condutivity 

   -    Oxidation-Reduction Potential (ORP)

   -    Gas Chromatograph

   -    Free Residual Chlorine Analyzer (FRC)

   •    Valve

   -    Motor Operate Valve

   -    Servo Valve

   -    Butterfly Valve

   -    Globe Valve

   •    Digital (IoT)

   -    Wireless

   -    Media converter

   -    Hub/switch

   -    Fiber optic

3.    เตรียมเครื่องมือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยจะดำเนินการเตรียมเครื่องมือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) 

เอกสาร เช่น ใบงาน Work Order, Lock Out Tag Out (LOTO), Self-Check Work Instruction (WI), Inspection Sheet เป็นต้น 

เครื่องมือ เช่น เครื่องมือวัด, Consumable Part, Spare Part โดยอุปกรณ์ที่เตรียมทั้งหมดจะเป็นการเตรียมตาม WI ของงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM)

4.    ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้น โดยจะดำเนินความผิดปกติของอุปกรณ์เบื้องต้น เช่น Analyzer ไม่ส่งสัญญาณ Output Pressure Gauge เข็มค้างอยู่ที่ค่าวัดที่ค่าๆ หนึ่ง เป็นต้น ตรวจสอบพื้นที่และประเมินความปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเพื่อเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน

5.    รายงานรายละเอียดงานก่อนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเปิดระบบเพื่อดูงานที่ต้องทำงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ในแต่ละสัปดาห์ โดยทำการจัดแผนการทำงานก่อนการทำงานในแต่ละสัปดาห์ 

6.    ปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) โดยจะดำเนินปฏิบัติงานบำรุงรักษา ทดสอบอุปกรณ์ และประสานงานกับหน่วยงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเพื่อคืนพื้นที่ปฏิบัติงาน

7.    รายงานผลบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) โดยจะรายงานผลงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) ซึ่งรวมถึงระบุและรายงานปัญหากรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ให้กับหัวหน้างาน

8.    บันทึกงานในระบบการจัดการงานบำรุงรักษา โดยจะบันทึกผลงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM)     ในระบบการจัดการงานบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ (CMMS) จะต้องได้รับการอนุมัติจากหัวหน้างานชั้นต้นก่อน

9.    ปัญหากรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เช่น มี Tag แขวนอยู่, อุปกรณ์นั้นไม่ได้ถูกใช้งาน

10.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานเดินเครื่องโรงไฟฟ้า หน่วยงานวางแผนการผลิตและบำรุงรักษา และหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1   เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบควบคุมโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบควบคุมโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

   (2)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบควบคุมโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

18.2   เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)

   (2)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดโรงไฟฟ้าเชิงป้องกัน (PM)



ยินดีต้อนรับ