หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้าในภาวะปกติ (Controlling the operation of chemical plants under normal conditions)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-VYEV-818A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้าในภาวะปกติ (Controlling the operation of chemical plants under normal conditions)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้า ระดับ 5

ISCO-08      2113 นักเคมีวิเคราะห์/นักเคมี/เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพด้านเคมี/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเคมี ห้อง LAB/นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการด้านเคมี/นักวิจัยและทดสอบเคมี/นักเคมีอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถอธิบายกระบวนการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหอหล่อเย็น และ ระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ โดยหมายรวมถึงการควบคุมพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำ ความสำคัญของตัวอย่างน้ำที่จะนำมาวิเคราะห์คุณภาพเพื่อใช้ในการเฝ้าติดตามและควบคุมคุณภาพน้ำให้ได้ตามเกณฑ์ที่ OEM กำหนด หรือตามเกณฑ์มาตรฐานสากลอื่นๆ  อีกทั้งยังต้องสามารถอธิบายและวิเคราห์ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำที่วิเคราะห์ได้จากระบบน้ำโรงไฟฟ้าได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

10.1    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 2549

10.2    พระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2551

10.3    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556

10.4    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำทุกระยะเวลา เกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2559

10.5    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559

10.6    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560 

10.7    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายพ.ศ. 2560 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC04-5-002-01

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส

1. อธิบายพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำใสได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-01.01 222862
PGS-OC04-5-002-01

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส

2. กำหนดและอธิบายความสำคัญของจุดเก็บน้ำได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-01.02 222863
PGS-OC04-5-002-01

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส

3. แปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำใสได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-01.03 222864
PGS-OC04-5-002-02

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

1. อธิบายพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-02.01 222865
PGS-OC04-5-002-02

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

2. กำหนดและอธิบายความสำคัญของจุดเก็บน้ำได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-02.02 222866
PGS-OC04-5-002-02

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

3. แปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-02.03 222867
PGS-OC04-5-002-03

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหล่อเย็น

1. อธิบายพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็นได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-03.01 222868
PGS-OC04-5-002-03

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหล่อเย็น

2. กำหนดและอธิบายความสำคัญของจุดเก็บน้ำได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-03.02 222869
PGS-OC04-5-002-03

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหล่อเย็น

3. แปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบน้ำหล่อเย็นได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-03.03 222870
PGS-OC04-5-002-04

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ

1. อธิบายพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-04.01 222871
PGS-OC04-5-002-04

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ

2. กำหนดและอธิบายความสำคัญของจุดเก็บน้ำได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-04.02 222872
PGS-OC04-5-002-04

ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ

3. แปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-5-002-04.03 222873

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    ความรู้พื้นฐานด้านระบบผลิตไฟฟ้าแบบต่างๆ (Basic of Power Generation)

2.    หลักการทำงานของระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหอหล่อเย็น ระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ

3.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของอุปกรณ์เติมสารเคมี

4.    ความรู้เกี่ยวกับเคมีพื้นฐาน และ เคมีวิเคราะห์

5.    ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานขณะการเดินเครื่องปกติ Start-up / Shut down อุปกรณ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถอธิบายกระบวนการทำงานของระบบผลิตน้ำใส  ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ ได้อย่างถูกต้อง

2.    ทักษะในการวางแผนการจัดการปฏิบัติงานในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

3.    มีทักษะทางเทคนิคในการใช้งานอุปกรณ์วัดค่า Online ของระบบน้ำโรงไฟฟ้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานเคมีโรงไฟฟ้า

4.    ทักษะในการอ่านคู่มือหรือมาตรฐานที่ต้องดำเนินการและปฏิบัติตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง

5.    ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ

6.    ทักษะในการสังเกตความผิดปกติของการทำงานด้านเคมีในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ ได้อย่างถูกต้อง

7.    ทักษะในการสังเกตความผิดปกติของคุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ ได้อย่างถูกต้อง

8.    ทักษะทางเทคนิคในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ได้อย่างถูกต้อง

9.    ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ สรุปผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำ พร้อมให้ความเห็นผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้อย่างถูกต้อง 

10.    ทักษะการเขียนรายงาน สรุปผลการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ด้วยภาษาไทยที่เข้าใจได้ง่ายและชัดเจน

11.    ทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีในการปฎิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับภาษาเทคนิคที่ใช้ในการทำงาน

2.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำของ ระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหอหล่อเย็นระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ 

3.    ความรู้ในการควบคุมคุณภาพระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ ระบบน้ำหอหล่อเย็น ตาม Standard Guideline 

4.    ความรู้ในการปรับแต่งสารเคมีระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ ระบบน้ำหอหล่อเย็น ตามข้อมูลและสถานการณ์

5.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยการปฎิบัติงานในพื้นที่โรงไฟฟ้า

6.    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และ กฎหมายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงาน

7.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

5.    หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

การควบคุมการปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้าในภาวะปกติ สำหรับระบบน้ำโรงไฟฟ้า ในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และระบบน้ำหม้อไอน้ำและไอน้ำ ในระดับคุณวุฒิที่ 5 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ในการควบคุมคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในระบบต่างๆ สามารถแปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแต่ละระบบน้ำโรงไฟฟ้า เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำภาพน้ำโรงไฟฟ้าในระบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง

   (ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องควบคุมการปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้าในภาวะปกติ สำหรับระบบน้ำโรงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงพารามิเตอร์หลัก ความสำคัญและผลกระทบของพารามิเตอร์หลัก ที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้า อีกทั้งสามารถแปรผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแต่ละระบบน้ำโรงไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส

ระบบผลิตน้ำใส หมายถึง กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เช่น สารแขวนลอย ก๊าซ ชีวินทรีย์ และอื่นๆ ออกจากน้ำ ด้วยวิธีการบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) วิธีการบำบัดน้ำทางเคมี (Chemical Treatment) โดยใช้สารเคมีตกตะกอน (Clarification & Sedimentation) วิธีการกรองผ่านสารกรอง (Filtration)  และ วิธีการกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ และ น้ำในระบบหล่อเย็น

การควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส หมายถึง ความสามารถในการควบคุมคุณภาพน้ำใสที่ผลิตได้ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือผู้ผลิตกำหนด โดยสามารถอธิบายหลักการ ของระบบผลิตน้ำใส ความสำคัญและจุดเก็บตัวอย่างน้ำในระบบผลิตน้ำใสที่มีผลต่อคุณภาพน้ำใสที่วิเคราะห์ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการแปลผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำใสโดยตรง รวมถึงพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำใส อีกทั้งยังต้องพิจารณาการป้อนและปริมาณสารเคมีตกตะกอนน้ำใส รอบการล้าง ชนิดและปริมาณสารเคมีที่ใช้ล้างในระบบผลิตน้ำใสแบบกรองผ่านเยื่อเมมเบรน ให้มีปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมกับคุณภาพน้ำดิบที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลอีกด้วย

2.    ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ หมายถึง กระบวนการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ เพื่อเตรียมคุณภาพน้ำสำหรับป้อนหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องการน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง เทคโนโลยีการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ มีดังนี้

   2.1 การแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิน (Ion Exchange Resin) 

   2.2 การกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) 

   2.3 การแลกเปลี่ยนด้วยไฟฟ้า (Electro-Deionization)

การควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ หมายถึง ความสามารถในการควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ที่ผลิตได้ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือผู้ผลิตกำหนด โดยสามารถอธิบายหลักการ ของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ที่ใช้เทคโนโลยีต่างๆ  ความสำคัญและจุดเก็บตัวอย่างน้ำในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ที่มีผลต่อคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ที่วิเคราะห์ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการแปลผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริสุทธิ์โดยตรง รวมถึงพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ อีกทั้งยังต้องพิจารณาการป้อนสารเคมีป้องกันการเกิดตะกัน รอบการล้าง ชนิดและปริมาณสารเคมีที่ใช้ล้างในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์แบบกรองผ่านเยื่อเมมเบรน ให้มีปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม อธิบายขั้นตอนการฟื้นฟูสภาพสารกรองเรซิ่นหลังจากครบรอบการผลิตน้ำบริสุทธิ์ ปริมาณและสารเคมีที่ใช้ในการฟื้นฟูสภาพสารกรองให้ถูกต้องเหมาะสม

3.    ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหล่อเย็น

ระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง น้ำที่ผ่านการถ่ายเทความร้อนมาจากกระบวนการผลิต (Process) ที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ทั้งในส่วนของระบบเครื่องควบแน่นไอน้ำ (Condenser)  และ ระบบระบายความร้อนของอุปกรณ์อื่นๆในโรงไฟฟ้า สำหรับระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำมี 3 ลักษณะ  ดังนี้

   3.1 Once Through Cooling System เป็นระบบสูบน้ำจากแหล่งน้ำ นำไปหล่อเย็นแล้วปล่อยทิ้งเลย ระบบนี้จะต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอกับการใช้งาน

   3.2 Open Recirculating Cooling System ระบบนี้เป็นการนำเอาน้ำหมุนเวียนมาใช้อีก ฉะนั้นจึงต้องมีหอระบายความร้อน (Cooling Tower) ระบบนี้จะประหยัดน้ำและสารเคมีมากกว่าการใช้ Once Through Cooling System เป็นระบบที่ใช้ทั่วไป

   3.3 Closed Cooling System เป็นระบบปิดมีการสูญเสียน้ำน้อยมาก แต่การระบายความร้อนจากน้ำทิ้งต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม ตัวอย่างของระบบนี้เช่น หม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น

การควบคุมการปฏิบัติงานในระบบหล่อเย็น หมายถึง ความสามารถในการควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็นให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือผู้ผลิตกำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกัดกร่อนและตะกรันในระบบแลกเปลี่ยนความร้อน โดยสามารถอธิบายหลักการของระบบน้ำหล่อเย็น  ความสำคัญและจุดเก็บตัวอย่างน้ำในระบบน้ำหล่อเย็นที่มีผลต่อคุณภาพน้ำหล่อเย็นที่วิเคราะห์ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการแปลผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำหล่อเย็นโดยตรง รวมถึงพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น อีกทั้งยังต้องพิจารณาการป้อนสารเคมีป้องกันการการกัดกร่อน การเกิดตะกัน ชนิดและปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำหล่อเย็นให้มีปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม 

4.    ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำ

ระบบน้ำหม้อไอน้ำ หมายถึง ระบบการผลิตไอน้ำ เพื่อใช้ในการหมุนกังหันไอน้ำซึ่งมีแกนเพลาต่อเชื่อมอยู่กับเครื่องผลิตไฟฟ้า (Generator) โดยแบ่งตามประเภทของโรงไฟฟ้า ดังนี้

   -    โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant) จะผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำกับเชื้อเพลิงโดยตรง 

   -    โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant) คือการผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยน ความร้อนของน้ำกับไอเสียจากเครื่องกังหันก็าซ โดยใช้ Heat Recovery Steam Generator: HRSG เป็นอุปกรณ์ในการแลกเปลี่ยนความร้อนสารเคมีที่ใช้ในในระบบน้ำระบบน้ำหม้อไอน้ำ 

การควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำ หมายถึง ความสามารถในการควบคุมคุณภาพน้ำน้ำหม้อไอน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือผู้ผลิตกำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกัดกร่อนและตะกรันในท่อน้ำของระบบน้ำหม้อไอน้ำ โดยสามารถอธิบายหลักการของระบบน้ำหม้อไอน้ำ ความสำคัญและจุดเก็บตัวอย่างน้ำในระบบน้ำหม้อไอน้ำที่มีผลต่อคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำที่วิเคราะห์ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการแปลผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำหม้อไอน้ำโดยตรง รวมถึงพารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำระบบน้ำหม้อไอน้ำ อีกทั้งยังต้องพิจารณาการป้อนสารเคมีป้องกันการการกัดกร่อน การเกิดตะกรัน ชนิดและปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำหม้อไอน้ำ ให้มีปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมิน ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำใส แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำใส และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

   (2)   ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำใส แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำใส และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

   (3)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำใส พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำใส แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำใส และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

18.2  เครื่องมือประเมิน ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

   (2)   ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

   (3)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

18.3  เครื่องมือประเมิน ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหล่อเย็น 

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหล่อเย็น พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบน้ำหล่อเย็น และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

   (2)   ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหล่อเย็น พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบน้ำหล่อเย็น และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

   (3)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับ ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหล่อเย็น พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหล่อเย็น แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบน้ำหล่อเย็น และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

18.4  เครื่องมือประเมิน วางแผนการใช้สารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำ

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การวางแผนการใช้สารเคมีในระบบน้ำหม้อไอน้ำ ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำ พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบน้ำหม้อไอน้ำ และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

   (2)   ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำ พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบน้ำหม้อไอน้ำ และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ

   (3)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับควบคุมการปฏิบัติงานในระบบน้ำหม้อไอน้ำ พารามิเตอร์หลักที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพน้ำหม้อไอน้ำ แปรผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบน้ำหม้อไอน้ำ และจุดเก็บตัวอย่างน้ำ



ยินดีต้อนรับ