หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ (Test power plant water quality in the laboratory)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-DFOT-816A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ (Test power plant water quality in the laboratory)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้า ระดับ 4

ISCO-08       2113 นักเคมีวิเคราะห์/นักเคมี/เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพด้านเคมี/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเคมี ห้อง LAB/นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการด้านเคมี/นักวิจัยและทดสอบเคมี/นักเคมีอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถทดสอบคุณภาพน้ำของระบบที่สำคัญในโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย ระบบผลิตน้ำใส  ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น  และระบบน้ำหม้อไอน้ำ โดยสามารถทดสอบคุณภาพน้ำโดยวิธีทางกายภาพ วิธีการไตเตรตและวิธีทางสปคโตรสโคปี พร้อมรายงานผลการทดสอบไปยังหัวหน้างานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ การเตรียมสารเคมีที่ใช้ในการทดสอบ และปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC04-4-005-01

ควบคุมคุณภาพงานวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโรงไฟฟ้า

1. ปรับเทียบเครื่องมือสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางกายภาพ

PGS-OC04-4-005-01.01 222837
PGS-OC04-4-005-01

ควบคุมคุณภาพงานวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโรงไฟฟ้า

2. ปรับเทียบสารละลายมาตรฐานสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีการไตเตรต

PGS-OC04-4-005-01.02 222838
PGS-OC04-4-005-01

ควบคุมคุณภาพงานวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโรงไฟฟ้า

3. สร้างกราฟมาตรฐานความเข้มข้นสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางสเปคโตรสโคปี

PGS-OC04-4-005-01.03 222839
PGS-OC04-4-005-02

ทดสอบคุณภาพน้ำตามวิธีมาตรฐาน

1. ทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางกายภาพ 

PGS-OC04-4-005-02.01 222840
PGS-OC04-4-005-02

ทดสอบคุณภาพน้ำตามวิธีมาตรฐาน

2. ทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีการไตเตรต

PGS-OC04-4-005-02.02 222841
PGS-OC04-4-005-02

ทดสอบคุณภาพน้ำตามวิธีมาตรฐาน

3. ทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางสเปคโตรสโคปี

PGS-OC04-4-005-02.03 222842
PGS-OC04-4-005-03

ปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

1. อธิบายความเสี่ยง กฎเฉพาะพื้นที่และกฎเฉพาะงาน ในงานทดสอบคุณภาพน้ำ ได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-4-005-03.01 222843
PGS-OC04-4-005-03

ปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

2. อธิบายและปฏิบัติตามเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-4-005-03.02 222844
PGS-OC04-4-005-03

ปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

3. จัดเตรียมและสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-4-005-03.03 222845

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    มีทักษะในการอ่าน คิด วิเคราะห์ จากคู่มือหรือมาตรฐานปฏิบัติงานที่ต้องปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง 

2.    มีทักษะ การเตรียมสารละลายมาตรฐาน  เตรียมตัวอย่างน้ำ การใช้อุปกรณ์เครื่องแก้ว เพื่อการเตรียมความเข้มข้น การเจือจางสารละลายต่างๆ

3.    มีทักษะทางเทคนิคใน การใช้ อุปกรณ์ เครื่องแก้ว และเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ

4.    มีทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 

5.    มีทักษะการคิด คำนวณค่าทางสถิติ

6.    มีทักษะด้านการสื่อสาร ประสานงานกับ หัวหน้างานด้วย ศัพท์เทคนิคงานวิเคราะห์ทดสอบ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้ถูกต้อง 

7.    มีทักษะการเขียนรายงาน  

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความปลอดภัยการใช้สารเคมี วัสดุ ในห้องปฏิบัติการ

2.    หลักการและวิธีการทดสอบคุณภาพน้ำในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

3.    การใช้ค่าทางสถิติพื้นฐานสำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบ

4.    หลักการและวิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ

5.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

5.    หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะ  ทดสอบคุณภาพน้ำโรงไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ

   (ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพน้ำระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และระบบน้ำหม้อไอน้ำ ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    วิธีทางกายภาพ 

   1.1    คุณภาพน้ำทางกายภาพในระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง รายการ pH, Conductivity, Turbidity

   1.2    คุณภาพน้ำทางกายภาพในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบน้ำหม้อไอน้ำ หมายถึง รายการ pH, Conductivity, Silt Density Index (SDI)

2.    วิธีการไตเตรต หมายถึง  เทคนิคการหาปริมาณของสารละลายมาตรฐานที่รู้ค่าความเข้มข้นแน่นอน ที่ทำปฏิกริยาพอดีกับสารละลายตัวอื่นๆที่รู้ค่าปริมาตร แต่ไม่รู้ค่าความเข้มข้น เพื่อคำนวณหาค่าความเข้มข้น

   2.1    คุณภาพน้ำด้วยวิธีไตเตรตในระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง รายการ Total Hardness, Calcium, Magnesium, Alkalinity, Chloride

   2.2    คุณภาพน้ำด้วยวิธีไตเตรตในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ หมายถึง รายการ Free Mineral Acid (FMA)

3.    วิธีทางสเปคโตรสโคปี หมายถึง เทคนิคที่ใช้ในการตรวจวัด ความเข้มแสงในช่วง UV และช่วงแสงขาว ที่ทะลุผ่าน หรือถูกดูดกลืน โดยตัวอย่างน้ำที่เตรียมและวางไว้ให้แสงผ่าน โดยการเลือกความยาวคลื่นที่เหมาะสม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณและชนิดของสาร ที่อยู่ในตัวอย่าง สามารถใช้ในการหาความเข้มข้นของสารที่ต้องการได้ โดยเทียบกับ กราฟของสารละลายมาตรฐานของสารที่ค่าความเข้มข้นต่างๆ

   a.    คุณภาพน้ำด้วยวิธีสเปคโตรสโคปีในระบบผลิตน้ำใสและระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง รายการ  Iron, Sulfate, Phosphate, Silica

   b.    คุณภาพน้ำด้วยวิธีสเปคโตรสโคปีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และระบบหม้อไอน้ำ หมายถึง รายการ  Iron, Sulfate, Phosphate, Silica, Ammonia, Dissolved Oxygen 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมิน ควบคุมคุณภาพงานวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโรงไฟฟ้า

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ปรับเทียบเครื่องมือสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางกายภาพ ปรับเทียบสารละลายมาตรฐานสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีการไตเตรต และการสร้างกราฟมาตรฐานความเข้มข้นของสารละลายสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางสเปคโตรสโคปี

   (2)   ปรับเทียบเครื่องมือสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางกายภาพ ปรับเทียบสารละลายมาตรฐานสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีการไตเตรต และการสร้างกราฟมาตรฐานความเข้มข้นของสารละลายสำหรับงานทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางสเปคโตรสโคปี

18.2  เครื่องมือประเมิน ทดสอบคุณภาพน้ำตามวิธีมาตรฐาน

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางกายภาพ วิธีการไตรเตรต และวิธีทางสเปคโตรสโคปี ในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็นและระบบน้ำหม้อไอน้ำ

   (2)   การสาธิตการปฎิบัติงาน เช่น การสอบสาธิตการปฎิบัติงานเกี่ยวกับการทดสอบคุณภาพน้ำ การทดสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีทางกายภาพ วิธีการไตรเตรต และวิธีทางสเปคโตรสโคปี ในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็นและระบบน้ำหม้อไอน้ำ

18.3  เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ความเสี่ยง กฎเฉพาะพื้นที่และกฎเฉพาะงาน ในงานทดสอบคุณภาพน้ำ

   (2)   การสาธิตการปฎิบัติงาน เช่น การสอบสาธิตการปฎิบัติงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ



ยินดีต้อนรับ