หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คำนวณและเตรียมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า (Calculate and prepare the amount of chemicals used in the power plant water system)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-ZLAR-815A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คำนวณและเตรียมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า (Calculate and prepare the amount of chemicals used in the power plant water system)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้า ระดับ 4

ISCO-08      2113 นักเคมีวิเคราะห์/นักเคมี/เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพด้านเคมี/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเคมี ห้อง LAB/นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการด้านเคมี/นักวิจัยและทดสอบเคมี/นักเคมีอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถคำนวณปริมาณสารเคมีและการเตรียมสารเคมีให้มีปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอต่อระบบน้ำที่สำคัญในโรงไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย ระบบผลิตน้ำใส  ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น  และระบบน้ำหม้อไอน้ำ โดยการคำนวณปริมาณสารเคมีซึ่งประกอบด้วยการคำนวณปริมาณสารเคมีในเชิงการวิเคราะห์โดยน้ำหนักและการคำนวณวิเคราะห์เชิงปริมาตร นำผลการคำนวณปริมาณสารเคมีที่ได้มาใช้ในการเตรียมสารเคมีสำหรับระบบน้ำโรงไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อการใช้งาน อีกทั้งยังสามารถปรับ ตรวจสอบอัตราการเติมสารเคมีของปั๊มสารเคมีได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC04-4-005-01

พื้นฐานการคำนวณทางเคมีวิเคราะห์

1. อธิบายหน่วยทางเคมี (Unit of Chemicals) ได้

PGS-OC04-4-005-01.01 222826
PGS-OC04-4-005-01

พื้นฐานการคำนวณทางเคมีวิเคราะห์

2. อธิบายและคำนวณทางการวิเคราะห์โดยน้ำหนัก (Gravimetric Calculation)

PGS-OC04-4-005-01.02 222827
PGS-OC04-4-005-01

พื้นฐานการคำนวณทางเคมีวิเคราะห์

3. อธิบายและคำนวณทางปริมาตรวิเคราะห์ (Volumetric Calculation)

PGS-OC04-4-005-01.03 222828
PGS-OC04-4-005-02

การคำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

1. คำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบผลิตน้ำใส

PGS-OC04-4-005-02.01 222829
PGS-OC04-4-005-02

การคำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

2. คำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

PGS-OC04-4-005-02.02 222830
PGS-OC04-4-005-02

การคำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

3. คำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำหล่อเย็น

PGS-OC04-4-005-02.03 222831
PGS-OC04-4-005-02

การคำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

4. คำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำหม้อไอน้ำ

PGS-OC04-4-005-02.04 222832
PGS-OC04-4-005-03

การเตรียมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

1. อธิบายกระบวนการเตรียมสารเคมีที่ใช้ในระบบผลิตน้ำใส

PGS-OC04-4-005-03.01 222833
PGS-OC04-4-005-03

การเตรียมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

2. อธิบายกระบวนการเตรียมสารเคมีที่ใช้ในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

PGS-OC04-4-005-03.02 222834
PGS-OC04-4-005-03

การเตรียมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

3. อธิบายกระบวนการเตรียมสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำหล่อเย็น

PGS-OC04-4-005-03.03 222835
PGS-OC04-4-005-03

การเตรียมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

4. อธิบายกระบวนการเตรียมสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำหม้อไอน้ำ

PGS-OC04-4-005-03.04 222836

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.   มีความรู้พื้นฐานด้านระบบผลิตไฟฟ้าแบบต่างๆ (Basic of Power Generation)

2.   หลักการทำงานของระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และระบบน้ำ

หม้อไอน้ำและไอน้ำ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    มีทักษะในการอ่าน คิด วิเคราะห์ จากคู่มือหรือมาตรฐานปฏิบัติงานที่ต้องปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง 

2.    มีทักษะ การเตรียมสารละลายเคมี  เพื่อการเตรียมความเข้มข้น การเจือจางสารละลายต่างๆ

3.    มีทักษะทางเทคนิคใน การใช้ อุปกรณ์ และเครื่องมือพื้นฐาน ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเตรียมสารละลายเคมี

4.    มีทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 

5.    มีทักษะการคิด คำนวณทางเคมีวิเคราะห์ได้แก่ การคำนวณทางการวิเคราะห์โดยน้ำหนัก (Gravimetric Calculation) และการคำนวณทางปริมาตรวิเคราะห์ (Volumetric Calculation)

6.    มีทักษะด้านการสื่อสาร ประสานงานกับ หัวหน้างานด้วย ศัพท์เทคนิคในส่วนของหน่วยปริมาณสารเคมีที่ใช้สำหรับการเตรียมสารละลายเคมีในระบบน้ำโรงไฟฟ้า ได้ถูกต้อง 

7.    มีทักษะการเขียนรายงาน  

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การคำนวณทางเคมีวิเคราะห์ ได้แก่  การคำนวณทางการวิเคราะห์โดยน้ำหนัก (Gravimetric Calculation) และการคำนวณทางปริมาตรวิเคราะห์ (Volumetric Calculation)

2.    ความปลอดภัยการใช้สารเคมี วัสดุ ที่ใช้งานสำหรับการเตรียมสารละลายเคมี

3.    หลักการและวิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้งานสำหรับการเตรียมสารละลายเคมี

4.    มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม เช่น โปรแกรมเอกสารและโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

5.    หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้าด้วยเทคนิคเคมีวิคราะห์ และอธิบายการเตรียมปริมาณสารเคมีที่ต้องใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

   (ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องคำนวณหาปริมาณสารเคมีที่จะต้องใช้ในระบบน้ำต่างๆของโรงไฟฟ้า พร้อมทั้งอธิบายถึงปริมาณสารเคมีที่ต้องเตรียม ขั้นตอนการเตรียมสารเคมี ข้อควรระวัง โดยปฏิบัติตามหลักการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีนั้นๆ

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ระบบผลิตน้ำใส หมายถึง กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ เช่น สารแขวนลอย ก๊าซชีวินทรีย์ และอื่น ๆ ออกจากน้ำ ด้วยวิธีการบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) วิธีการบำบัดน้ำทางเคมี (Chemical Treatment) โดยใช้สารเคมีตกตะกอน (Clarification & Sedimentation) วิธีการกรองผ่านสารกรอง (Filtration) และวิธีการกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ และ น้ำในระบบหล่อเย็น

2.    ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ หมายถึง กระบวนการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ เพื่อเตรียมคุณภาพน้ำสำหรับป้อนหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องการน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง เทคโนโลยีการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ มีดังนี้

    1) การแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิน (Ion Exchange Resin) 

    2) การกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) 

    3) การแลกเปลี่ยนด้วยไฟฟ้า (Electro-Deionization)

3.    ระบบน้ำหล่อเย็น หมายถึง น้ำที่ผ่านการถ่ายเทความร้อนมาจากกระบวนการผลิต (Process) ที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ทั้งในส่วนของระบบเครื่องควบแน่นไอน้ำ (Condenser)  และ ระบบระบายความร้อนของอุปกรณ์อื่นๆในโรงไฟฟ้า สำหรับระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำมี 3 ลักษณะ  ดังนี้

   1)    Once Through Cooling System เป็นระบบสูบน้ำจากแหล่งน้ำ นำไปหล่อเย็นแล้วปล่อยทิ้งเลย ระบบนี้จะต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งมีปริมาณน้ำเพียงพอกับการใช้งาน

   2)    Open Recirculating Cooling System ระบบนี้เป็นการนำเอาน้ำหมุนเวียนมาใช้อีก ฉะนั้นจึงต้องมีหอระบายความร้อน (Cooling Tower) ระบบนี้จะประหยัดน้ำและสารเคมีมากกว่าการใช้ Once Through Cooling System เป็นระบบที่ใช้ทั่วไป

   3)    Closed Cooling System เป็นระบบปิดมีการสูญเสียน้ำน้อยมาก แต่การระบายความร้อนจากน้ำทิ้งต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม ตัวอย่างของระบบนี้เช่น หม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น

4.    ระบบน้ำหม้อไอน้ำ หมายถึง ระบบการผลิตไอน้ำ เพื่อใช้ในการหมุนกังหันไอน้ำซึ่งมีแกนเพลาต่อเชื่อมอยู่กับเครื่องผลิตไฟฟ้า (Generator) โดยแบ่งตามประเภทของโรงไฟฟ้า ดังนี้

   1)    โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant) จะผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำกับเชื้อเพลิงโดยตรง 

   2)    โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant) คือการผลิตไอน้ำด้วยการแลกเปลี่ยนความร้อนของน้ำกับไอเสียจากเครื่องกังหันก็าซ โดยใช้ Heat Recovery Steam Generator: HRSG เป็นอุปกรณ์ในการแลกเปลี่ยนความร้อน

5.    หน่วยทางเคมี (Unit of Chemicals) เป็นหน่วยที่ใช้บอกขนาดของปริมาณสารเคมีที่ต้องการใช้ มีทั้งหน่วยน้ำหนัก หน่วยปริมาตร และหน่วยความเข้มข้น

6.    การคำนวณทางวิธีวิเคราะห์โดยน้ำหนัก (Gravimetric calculation) เป็นการคำนวณหาปริมาณสารเคมีที่ใช้งานในหน่วยเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก

7.    การคำนวณทางปริมาตรวิเคราะห์ (Volumetric calculation) เป็นการคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายเคมีที่ต้องเตรียมเพื่อใช้งานในระบบน้ำโรงไฟฟ้า ในหน่วย ppm รวมถึงอัตราการป้อนสารเคมีเข้าระบบผลิตน้ำ ระบบน้ำโรงไฟฟ้า ซึ่งมักอยู่ ในหน่วย ppm หรือ mg/l

8.    ระบบเตรียมสารเคมี ประกอบด้วย ถังเตรียมหรือถังกักเก็บ ชุดใบกวน ปั๊มสูบถ่ายสารเคมี และ ปั๊มป้อนสารเคมีเข้าระบบน้ำโรงไฟฟ้า 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมินอธิบายหน่วยทางเคมี (Unit of Chemicals)

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การบ่งชี้หน่วยทางเคมี (Unit of Chemicals) หน่วยที่ใช้บอกขนาดของปริมาณสารเคมีที่ต้องการใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า มีทั้งหน่วยน้ำหนัก หน่วยปริมาตร และหน่วยความเข้มข้น 

   (2)   การสัมภาษณ์ เช่น การสัมภาษณ์เกี่ยวกับการอธิบายหน่วยทางเคมี (Unit of Chemicals) หน่วยที่ใช้บอกขนาดของปริมาณสารเคมีที่ต้องการใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า มีทั้งหน่วยน้ำหนัก หน่วยปริมาตร และหน่วยความเข้มข้น 

18.2  เครื่องมือประเมิน คำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การคำนวณปริมาณสารเคมีที่ใช้งานในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และ ระบบน้ำหม้อไอน้ำ 

   (2)   การสัมภาษณ์ เช่น การอธิบายวิธีการคำนวณหาปริมาณสารเคมีใช้งานในระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และ ระบบน้ำหม้อไอน้ำ 

18.3  เครื่องมือประเมิน เตรียมปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบน้ำโรงไฟฟ้า

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การอธิบายการเตรียมสารเคมีที่ใช้ใน ระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และ ระบบน้ำหม้อไอน้ำ 

   (2)   การสัมภาษณ์ เช่น การอธิบายการเตรียมสารเคมีที่ใช้ใน ระบบผลิตน้ำใส ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ระบบน้ำหล่อเย็น และ ระบบน้ำหม้อไอน้ำ  รวมถึงข้อควรระวังในการปฏิบัติงานการเตรียมสารเคมี



ยินดีต้อนรับ