หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ (Work in water purification system)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-DBHJ-812A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ (Work in water purification system)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคมีโรงไฟฟ้า ระดับ 4

ISCO-08    2113 นักเคมีวิเคราะห์/นักเคมี/เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพด้านเคมี/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเคมี ห้อง LAB/นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการด้านเคมี/นักวิจัยและทดสอบเคมี/นักเคมีอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถเข้าใจและอธิบายการทำงานของกระบวนการผลิต การทำงานของอุปกรณ์ที่สำคัญ ที่ใช้ในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ตรวจสอบสภาพความพร้อมของอุปกรณ์และกระบวนการที่สำคัญของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ รวมถึงควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ที่ผลิตได้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยสามารถปรับ ตรวจสอบอัตราการเติมสารเคมีของปั๊มสารเคมี การเลือกจุดเก็บตัวอย่างน้ำที่ถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งสามารถบำรุงรักษาอุปกรณ์วัดค่า Online ของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ในเบื้องต้นตามคู่มือได้ และรายงานเหตุการณ์ประจำวัน สรุปข้อมูลที่สำคัญพร้อมผลการตรวจสอบไปยังหัวหน้างาน ได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังสามารถเลือกสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการทำงานแต่ละวันได้


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

10.1    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 2549

10.2    พระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2551

10.3    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย พ.ศ.2556

10.4    ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำทุกระยะเวลา เกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2559

10.5    ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559

10.6    ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กําหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560 

10.7    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายพ.ศ. 2560 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-OC04-4-002-01

ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

1. อธิบายกระบวนการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ได้

PGS-OC04-4-002-01.01 222799
PGS-OC04-4-002-01

ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

2. อธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบย่อยในกระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ได้

PGS-OC04-4-002-01.02 222800
PGS-OC04-4-002-01

ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

3. ตรวจสอบสภาพความพร้อมของกระบวนการที่สำคัญของการผลิตน้ำบริสุทธิ์ได้

PGS-OC04-4-002-01.03 222801
PGS-OC04-4-002-02

เดินเครื่องและบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

1. ปรับและตรวจสอบอัตราการเติมสารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ได้อย่างเหมาะสม

PGS-OC04-4-002-02.01 222802
PGS-OC04-4-002-02

เดินเครื่องและบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

2. ดำเนินการบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ตามคู่มือได้อย่างเหมาะสม

PGS-OC04-4-002-02.02 222803
PGS-OC04-4-002-02

เดินเครื่องและบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

3. รายงานสรุปเหตุการณ์ประจำวัน และประเมินสถานการณ์ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ไปยังหัวหน้างานได้

PGS-OC04-4-002-02.03 222804
PGS-OC04-4-002-03

เก็บข้อมูลที่สำคัญของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

1. ระบุจุดเก็บตัวอย่างน้ำบริสุทธิ์ได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-4-002-03.01 222805
PGS-OC04-4-002-03

เก็บข้อมูลที่สำคัญของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

2. ระบุเกณฑ์ควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-4-002-03.02 222806
PGS-OC04-4-002-03

เก็บข้อมูลที่สำคัญของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

3. รายงานผลวิเคราะห์น้ำของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ให้กับหัวหน้างานได้อย่างถูกต้อง

PGS-OC04-4-002-03.03 222807

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.   ความรู้พื้นฐานด้านระบบผลิตไฟฟ้าแบบต่างๆ (Basic of Power Generation)

2.   หลักการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถอธิบายกระบวนการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ได้อย่างถูกต้อง

2.    มีทักษะทางเทคนิคในการใช้งานอุปกรณ์วัดค่า Online ของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

3.    ทักษะในการอ่านคู่มือหรือมาตรฐานที่ต้องดำเนินการและปฏิบัติตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง

4.    ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ

5.    ทักษะในการสังเกตความผิดปกติของการทำงานด้านเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ และคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ที่ผลิตได้

6.    ทักษะทางเทคนิคในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ได้อย่างถูกต้อง

7.    ทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ สามารถจดบันทึกและสรุปข้อมูลที่ได้จากการทำงานในภาคสนาม พร้อมรายงานผลได้อย่างถูกต้อง 

8.    ทักษะการเขียนรายงาน สรุปผลการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ด้วยภาษาไทยที่เข้าใจได้ง่ายและชัดเจนทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีในการปฎิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำของ ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

2.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงาน วิธีการควบคุมคุณภาพน้ำ ในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

3.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์วัดค่า Online ของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

4.    ความรู้เกี่ยวกับ หลักการและวิธีการทดสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น

5.    ความรู้เกี่ยวกับ หลักการและวิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานในห้องปฏิบัติการเบื้องต้น

6.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยการปฎิบัติงานในพื้นที่โรงไฟฟ้า

7.    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และ กฎหมายด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงาน

8.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

4.    หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

5.    หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า

   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1.    หลักฐานการศึกษา

2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (PortFolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

   (ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ

   (ง) วิธีการประเมิน

1.    พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ

2.    พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

การปฏิบัติงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ในระดับคุณวุฒิที่ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด และการปฏิบัติงานในภาคสนามที่ครอบคลุมหลายขั้นตอนจนนำไปสู่การสรุปข้อมูลที่สำคัญและรายงานให้หัวหน้างานได้อย่างถูกต้อง ถือเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานในระดับคุณวุฒิที่ 3 และเป็นประสบการณ์การทำงานที่สำคัญก่อนไปทำงานในระดับคุณวุฒิที่ 5 การวิเคราะห์ปัญหาหน้างานจากข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหา

   (ก) คำแนะนำ

1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการผลิตน้ำ มาตรการด้านความปลอดภัยของการเดินเครื่องระบบผลิตน้ำ และสามารถจดบันทึกข้อมูลรายงานเหตุการณ์ประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง

2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับหลักการควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ ให้มีความถูกต้องและเป็นไปตามวิธีมาตรฐาน และสามารถจดบันทึกข้อมูลคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง

3.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญการใช้งานอุปกรณ์ในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ และสามารถจดบันทึกข้อมูลรายงานเหตุการณ์ประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง

4.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถดำเนินการบำรุงรักษาอุปกรณ์วัดค่า Online ของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ตามคู่มือได้อย่างเหมาะสม 

5.    ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบสาเหตุของปัญหาหน้างานเบื้องต้นของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

6.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ระหว่างการปฎิบัติงานภายในพื้นที่โรงไฟฟ้า

   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ หมายถึง กระบวนการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ เพื่อเตรียมคุณภาพน้ำสำหรับป้อนหม้อไอน้ำ ซึ่งต้องการน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง เทคโนโลยีการกำจัดแร่ธาตุออกจากน้ำ มีดังนี้

   1) การแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิน (Ion Exchange Resin) 

   2) การกรองผ่านเยื่อเมมเบรน (Membrane filtration) 

   3) การแลกเปลี่ยนด้วยไฟฟ้า (Electro-Deionization)

2.    กระบวนการที่สำคัญ หมายถึง กระบวนการที่มีความจำเป็นในการผลิตน้ำบริสุทธิ์ เช่น การบวนการสูบน้ำใส กระบวนการเตรียมสารเคมี กระบวนการกรองและแลกเปลี่ยนประจุ กระบวนการกักเก็บและสูบจ่ายน้ำบริสุทธิ์

3.    ระบบย่อย หมายถึง ระบบที่สนับสนุนการเดินเครื่องระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ เช่น ระบบตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำและสารเคมี ระบบตรวจวัดความดันของน้ำและสารเคมี ระบบการเก็บตัวอย่างน้ำใสและน้ำบริสุทธิ์

4.    อุปกรณ์ที่สำคัญ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการควบคุมคุณภาพในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ เช่น อุปกรณ์เตรียมสารเคมี อุปกรณ์เติมสารเคมี และ อุปกรณ์ตรวจวัดค่าอัตราการไหล อุปกรณ์ตรวจวัดค่าแรงดัน ของน้ำ และ สารเคมี

5.    เหตุการณ์ประจำวันและข้อมูลที่สำคัญ หมายถึง การรายงานข้อมูลการปฎิบัติงานและสภาพการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ที่ได้รับมอบหมาย โดยบันทึกลงในเอกสารหรือวิธีการใดๆ ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงาน 

6.    รายงานเหตุการณ์ประจำวัน หมายถึง การจดบันทึกและตรวจสอบการปฎิบัติงาน การทำงานของระบบ ที่ได้รับมอบหมายลงในเอกสารหรือวิธีการใดๆ ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อรองรับ

7.    อุปกรณ์วัดค่า Online หมายถึง เครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำในโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งติดตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพน้ำและจอแสดงผลการตรวจวัดซึ่งอาจมีการดึงสัญญาณไปแสดงที่ห้องควบคุมการผลิตไฟฟ้า เช่น pH , Conductivity , Turbidity , Silica , Sodium เป็นต้น

8.    อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันภัยส่วนบุคคลในการทำงานในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ เช่น แว่นตานิรภัย ถุงมือป้องกันสารเคมี หน้ากากป้องกันสารเคมีแบบครึ่งหน้า หรือ แบบเต็มหน้าพร้อมใสกรองสารเคมี ชุดป้องกันสารเคมีแบบเต็มตัว รองเท้าป้องกันสารเคมี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบสภาพความพร้อมการทำงานของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น สามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบหลักและระบบย่อยในกระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ การตรวจสอบสภาพความพร้อมของกระบวนการที่สำคัญของการผลิตน้ำบริสุทธิ์

   (2)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของระบบหลักและระบบย่อยในกระบวนการผลิตน้ำบริสุทธิ์ รวมถึงการตรวจสอบสภาพความพร้อมของกระบวนการที่สำคัญของการผลิตน้ำบริสุทธิ์

18.2  เครื่องมือประเมินเดินเครื่องและบำรุงรักษาอุปกรณ์ด้านเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปรับและตรวจสอบอัตราการเติมสารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

   (2)   การสัมภาษณ์ เช่น การปรับและตรวจสอบอัตราการเติมสารเคมีในระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์  รายงานสรุปเหตุการณ์ประจำวัน และประเมินสถานการณ์ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ไปยังหัวหน้างานได้

18.3  เครื่องมือประเมินการเก็บข้อมูลที่สำคัญของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

   (1)   ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ระบุจุดเก็บตัวอย่างน้ำบริสุทธิ์ และระบุเกณฑ์ควบคุมคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ได้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบสาเหตุของปัญหาหน้างานเบื้องต้นของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์

   (2)   การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรายงานผลวิเคราะห์น้ำของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ที่ผลิต การตรวจสอบสาเหตุของปัญหาหน้างานเบื้องต้นของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์และรายงานให้กับหัวหน้างานได้อย่างถูกต้อง



ยินดีต้อนรับ