หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WEL-DAHF-111B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2567

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO : 3122 Manufacturing Supervisors


1 3122 หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

เป็นบุคคลที่สามารถจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ สามารถวิเคราะห์อันตราย กำหนดการป้องกันและควบคุมอันตรายในการทำงานได้ สามารถประเมินความรุนแรงของอันตราย ประเมินโอกาสในการเกิดอันตราย และจัดลำดับความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง และสามารถเลือกมาตรการควบคุมความเสี่ยงและนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

ช่างเชื่อมอาวุโส หัวหน้าช่างเชื่อม ผู้ชำนาญการเชื่อม ผู้ควบคุมงานเชื่อมอุตสาหกรรม นักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม หรือบุคลากรงานเชื่อมในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรมและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

นักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม 


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

AWS-ANSI Z49.1: Safety in welding, cutting and allied process

ISO/TR 18786 Health and safety in welding - Guidelines for risk assessment of welding fabrication activities

คู่มือการปฏิบัติงานของสถานประกอบการ

คู่มือความปลอดภัยของสถานประกอบการ

 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20RK21

กำหนดวิธีการทำงานในแต่ละขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย

1. วิเคราะห์อันตรายจากการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

20RK21.01 214126
20RK21

กำหนดวิธีการทำงานในแต่ละขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย

2. กำหนดการป้องกันและควบคุมอันตรายในการทำงานได้อย่างถูกต้อง

20RK21.02 214127
20RK22

วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานเชื่อมได้

1. ประเมินความรุนแรงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในงานเชื่อมได้อย่างถูกต้อง

20RK22.01 214128
20RK22

วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานเชื่อมได้

2. ประเมินโอกาสที่อันตรายจะเกิดขึ้นในงานเชื่อมได้อย่างถูกต้อง

20RK22.02 214129
20RK22

วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานเชื่อมได้

3. จัดลำดับความเสี่ยงในงานเชื่อมได้อย่างถูกต้อง

20RK22.03 214130
20RK23

ควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้อย่างปลอดภัย

1. เลือกมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่ได้อย่างถูกต้อง

20RK23.01 214131
20RK23

ควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้อย่างปลอดภัย

2. ใช้งานมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่ได้อย่างถูกต้อง

20RK23.02 214132

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถวิเคราะห์อันตราย กำหนดการป้องกันและควบคุมอันตรายในการทำงานได้

2. สามารถประเมินความรุนแรงของอันตราย ประเมินโอกาสในการเกิดอันตราย และจัดลำดับความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

3. สามารถเลือกมาตรการควบคุมความเสี่ยงและนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

2. ความรู้เกี่ยวกับกฎความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและป้องกันอันตรายที่เกิดจากการเชื่อม

3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง

4. ความรู้เกี่ยวกับชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงาน

5. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำใบวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis)

6. ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการทำงาน

7. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินผลความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

1. เอกสารรายงานผลการวิเคราะห์อันตรายจากการปฏิบัติงาน (HA, Hazard Analysis)

2. ตารางลำดับความเสี่ยง (Risk Matrix)

3. ใบวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA Job Safety Analysis)

4. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

หลักฐานการอบรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล กฎความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่เกิดจากการเชื่อม การประเมินความเสี่ยง ชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานการจัดทำใบวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA, Job Safety Analysis) มาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการทำงาน วิธีการประเมินผล หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญ ตรงตามสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน    

1. การสอบข้อเขียน

2. การสอบสัมภาษณ์

3. แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยให้คำนึงถึงอันตรายจากการปฏิบัติงาน ระดับความรุนแรง โอกาสการเกิดเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น เกณฑ์การแบ่งระดับความรุนแรงและการพิจารณาระดับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

    การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย คือกระบวนการระบุ วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน  เป้าหมายคือเพื่อลดหรือกำจัดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงาน ผู้รับเหมาช่วง และบุคคลอื่นๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการทำงาน

    ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

    1. ระบุอันตราย

            1.1 หาสาเหตุที่อาจเกิดอันตราย เช่น เครื่องจักร วัสดุ กระบวนการทำงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน ฯลฯ

            1.2 ระบุบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบจากอันตราย

    2. วิเคราะห์ความเสี่ยง

            2.1 ประเมินความรุนแรงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

            2.2 ประเมินโอกาสที่อันตรายจะเกิดขึ้น

            2.3 จัดลำดับความเสี่ยงจากมากไปน้อย

    3. ประเมินความเสี่ยง

            3.1 เปรียบเทียบความรุนแรงและโอกาสของอันตรายกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้

            3.2 ตัดสินใจว่าความเสี่ยงนั้นยอมรับได้หรือไม่

    4. ควบคุมความเสี่ยง

            4.1 เลือกมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น การกำจัดอันตราย การใช้ระบบป้องกัน การฝึกอบรมพนักงาน ฯลฯ

            4.2 นำมาตรการควบคุมความเสี่ยงไปใช้

    5. ทบทวนและติดตามผล

            5.1 ตรวจสอบประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมความเสี่ยง

            5.2 ทบทวนการประเมินความเสี่ยงเป็นประจำตามความเหมาะสม



    ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

    1. การวิเคราะห์งานปลอดภัย (JSA) : วิเคราะห์งานทีละขั้นตอนเพื่อระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

    2. การวิเคราะห์โหมดความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA): ระบุโหมดความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นของระบบหรือกระบวนการ

    3. การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ (Qualitative Risk Assessment) : ประเมินความเสี่ยงโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดไว้

    4. การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ (Quantitative Risk Assessment) : ประเมินความเสี่ยงโดยใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข



    ประโยชน์ของการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

    1. ช่วยลดหรือกำจัดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงาน ผู้รับเหมาช่วง และบุคคลอื่นๆ

    2. ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุและโรคที่เกี่ยวข้องกับงาน

    3. ช่วยปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กร

    4. ช่วยสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขภาพดี



    การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในงานเชื่อม สามารถดำเนินการได้ดังนี้

    1. อันตรายจากการปฏิบัติงานได้แก่ อันตรายจากรังสีที่เกิดจากการเชื่อม อันตรายจากควันที่เกิดจากการเชื่อม อันตรายจากแก๊สที่เกิดจากการเชื่อม อันตรายที่เกิดจากอันตรายจากเสียง อันตรายจากการสารเคมี

    2. ระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้แก่ ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3

    3. โอกาสการเกิดของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากมีมาตรการควบคุมได้แก่ ไม่น่าจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และเกิดขึ้นบ่อย

    4. เกณฑ์ในการแบ่งระดับความรุนแรงได้แก่ การบาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต ปริมาณสารเคมีและแก๊สมูลค่าความเสียหาย

    5. การพิจารณาระดับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมี 3 ระดับ ได้แก่ 

            5.1 ระดับ L คือ ยอมรับได้ แต่ควรพิจารณาเพิ่มเติมมาตรการควบคุมถ้ามีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น

            5.2 ระดับ M คือ สามารถดำเนินการได้หลังจากมาตรการควบคุมเพิ่มเติมได้รับการยินยอมจากผู้มีอำนาจอนุมัติดำเนินการ 

            5.3 ระดับ H คือ ไม่สามารถดำเนินการได้ จนกว่างานดังกล่าวได้ถูกทบทวนใหม่ หรือกำหนดมาตรการควบคุมเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งมาตรการควบคุมจะต้องถูกประเมินซ้ำก่อนเริ่มงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่มี


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสอบข้อเขียน ได้แก่ แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสอบสัมภาษณ์

3. แฟ้มสะสมผลงาน

            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ