หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพของการทดสอบสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PET-OZLO-045B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพของการทดสอบสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3211 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการควบคุมคุณภาพของการทดสอบ อันได้แก่ การตรวจสอบคุณภาพของสารเคมีที่ใช้ในการทดสอบ การตรวจสอบคุณภาพอาหารเลี้ยงเชื้อ การตรวจสอบคุณภาพของทักษะการทำกระบวนการทดสอบ การประเมินคุณภาพภาพถ่าย และการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องมือทางรังสีวิทยาอย่างถูกต้องเหมาะสม


7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

นักเทคนิคการสัตวแพทย์


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1.เกณฑ์ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ที่ดีของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2550

2. มาตรฐานสถานประกอบการสัตวในประเทศไทย พ.ศ. 2553

3. มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2562

4. มาตรฐานห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562

 


11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10306.01 ควบคุมคุณภาพภายในของการทดสอบ

1. การตรวจสอบคุณภาพของสารเคมีที่ใช้ในการทดสอบตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ 



10306.01.01 187431
10306.01 ควบคุมคุณภาพภายในของการทดสอบ

2. การตรวจสอบคุณภาพอาหารเลี้ยงเชื้อตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ 

10306.01.02 187432
10306.01 ควบคุมคุณภาพภายในของการทดสอบ

3. การตรวจสอบคุณภาพของทักษะการทำกระบวนการทดสอบตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ

10306.01.03 187433
10306.02 ควบคุมคุณภาพภ่าพถ่ายทางรังสี

1. ประเมินคุณภาพภาพถ่ายรังสีวินิจฉัย

10306.02.01 187434
10306.02 ควบคุมคุณภาพภ่าพถ่ายทางรังสี

2. ตรวจสอบความพร้อมใช้งานเครื่องมือทางรังสี

10306.02.02 187435

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

10301    บำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือพิเศษ และสถานที่ในห้องปฏิบัติการ

10304    รายงานผลและบริหารจัดการฐานข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ

10305    ดูแลสัตว์ป่วยเบื้องต้นที่เข้ารับตรวจทางห้องปฏิบัติการ    

ทักษะการใช้เครื่องมือภายในห้องปฏิบัติการ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการดำเนินการตามกระบวนการควบคุมคุณภาพการทดสอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ทางการทดสอบกระบวนการปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการ

2. ความรู้การตรวจHEMATOLOGY

3. ความรู้การตรวจ BLOOD CHEMISTRY

4. ความรู้การตรวจ URINALYSIS

5. ความรู้การตรวจ HORMONE, SEROLOGY, TOXICOLOGY, HISTOPATHOLOGY & CYTOLOGY

6. ความรู้การตรวจ MICROBIOLOGY & PARASITOLOGY

7. ความรู้การตรวจ FECAL EXAMINATION

8. ความรู้การตรวจ PCR TECHNIQUE

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. ใบบันทึกจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน

          2. เอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา (ถ้ามี)

          3. เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการสัตว์เลี้ยง อาชีพนักเทคนิคการสัตวแพทย์ ระดับ 5 (ถ้ามี)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ผลการทดสอบความรู้

          2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

          3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

           ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

    (ง) วิธีการประเมิน

         1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. การทำงานสนับสนุนงานตามแผนการรักษาภายใต้การควบคุมของนายสัตวแพทย์

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1.คุณภาพภายในการทดสอบ หมายถึง การดำเนินการของห้องปฏิบัติการในการเฝ้าระวังการทดสอบและผลการทดสอบให้น่าเชื่อถือก่อนรายงานผล กระบวนการควบคุมคุณภาพต้องครอบคลุมทุกขั้นตอนการวิเคราะห์ ตั้งแต่การสุ่มตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่าง การวิเคราะห์ตัวอย่าง ตลอดจนถึงการรายงานผลการทดสอบ

2.ควบคุมคุณภาพรังสีวินิจฉัย หมายถึงการควบคุมการฉายรังสี โดยลดจำนวนรังสีที่ส่งผลกระทบอันตรายแก่ผู้ฉายและสัตว์ป่วย อีกทั้งยังคงคุณภาพของภาพหลังการฉายรังสีได้อย่างชัดเจนและตรงจุด



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

        เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

              1) แบบทดข้อสอบข้อเขียน

              2) แบบทดสอบสาธิตการปฏิบัติการ

              3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 



ยินดีต้อนรับ