หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความเสี่ยงการขนส่งสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-GIMG-658A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความเสี่ยงการขนส่งสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

   ผู้ปฏิบัติการควบคุมรถบรรทุกสำหรับการขนส่งทางถนน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)

   บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการวางแผนป้องกันสภาวะฉุกเฉิน การจัดการความเสี่ยงจาการขนส่งสินค้า การจัดการความเสี่ยงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ และการรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า 

 



7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)

8332 ผู้ขับรถบรรทุกขนาดใหญ่


9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

1) ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล หรือสูงกว่า

2) ใบอนุญาตขับขี่ตั้งแต่ประเภท 2 ขึ้นไป และมีใบอนุญาตขับขี่ตรงตามประเภทรถที่รับการประเมิน

3) พรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 

4) พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522

5) พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522



11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
211061 วางแผนป้องกันสภาวะฉุกเฉิน 1. วางแผนการป้องกันสภาวะฉุกเฉินอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 211061.01 104750
211061 วางแผนป้องกันสภาวะฉุกเฉิน 2. ป้องกันสภาวะฉุกเฉินถูกดำเนินการอย่างถูกต้องตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 211061.02 104751
211061 วางแผนป้องกันสภาวะฉุกเฉิน 3. จัดการเก็บกู้สินค้าอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานของสถานประกอบการที่กำหนด 211061.03 104752
211062 จัดการความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า 1. กำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างชัดเจน 211062.01 104753
211062 จัดการความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า 2.ดำเนินการตามนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 211062.02 104754
211062 จัดการความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า 3. ติดตามความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างครบถ้วน 211062.03 104755
211063 จัดการความเสี่ยงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ 1. กำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่อย่างชัดเจน 211063.01 104756
211063 จัดการความเสี่ยงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ 2.ดำเนินการตามนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่อย่างมีประสิทธิภาพ 211063.02 104757
211063 จัดการความเสี่ยงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ 3. ติดตามความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่อย่างครบถ้วน 211063.03 104758
211064 รายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า 1. จัดทำรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างถูกต้องและครบถ้วน 211064.01 104759
211064 รายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า 2. เสนอรายงานรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างครบถ้วน 211064.02 104760

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวางแผนป้องกันสภาวะฉุกเฉิน

  1.1 สามารถวางแผนการป้องกันสภาวะฉุกเฉินอย่างเหมาะสมตามมาตรฐาน

  1.2 สามารถป้องกันสภาวะฉุกเฉินถูกดำเนินการอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน

  1.3 สามารถจัดการเก็บกู้สินค้าอย่างปลอดภัย

2. ปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า

  2.1 สามารถกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างชัดเจน

  2.2 สามารถดำเนินการตามนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

  2.3 สามารถติดตามความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างครบถ้วน

3. ปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่

  3.1 สามารถกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่อย่างชัดเจน

  3.2 สามารถดำเนินการตามนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่อย่างมีประสิทธิภาพ

  3.3 สามารถติดตามความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่อย่างครบถ้วน

4. ปฏิบัติการรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า

  4.1 สามารถจัดทำรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างถูกต้องและครบถ้วน

  4.2 สามารถเสนอรายงานรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าอย่างครบถ้วน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดการขนส่งสินค้าทางถนน

2. การบริหารจัดการการควบคุมการขับรถบรรทุกเพื่อการขนส่งสินค้า

3. การบริหารเทคโนโลยี

4. การบริหารความเสี่ยง

 



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

   1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานหรือผลการประเมินการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

   2. เอกสารการประเมินตามหน่วยสมรรถนะครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

   1. เอกสารรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับการขับรถบรรทุกขนส่งสินค้าทางถนน

   2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

   ประเมินเกี่ยวกับการบริหารจัดการการควบคุมการขับรถบรรทุกเพื่อการขนส่งสินค้า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

   1. พิจารณาหลักฐานความรู้

   2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

   การปฏิบัติการวางแผนป้องกันสภาวะฉุกเฉิน การจัดการความเสี่ยงจาการขนส่งสินค้า การจัดการความเสี่ยงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ และการรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. การวางแผนป้องกันสภาวะฉุกเฉิน จะต้องวางแผนการป้องกันสภาวะฉุกเฉินตามมาตรฐาน ป้องกันสภาวะฉุกเฉินถูกดำเนินการตามมาตรฐาน และจัดการเก็บกู้สินค้าอย่างปลอดภัย

   2. การจัดการความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า จะต้องกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า ดำเนินการตามนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า ติดตามความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า

   3. การจัดการความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ จะต้องกำหนดนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ ดำเนินการตามนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ และติดตามความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่

   4. การรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า จะต้องจัดทำรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า และเสนอรายงานรายงานความเสี่ยงจากการขนส่งสินค้า

   5. รถบรรทุกสินค้า หมายถึง รถบรรทุกขนาดเล็ก รถบรรทุกขนาดใหญ่ รถบรรทุกลากจูง และรถบรรทุกวัตถุอันตรายที่บรรทุก สิ่งของ วัตถุ ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยใช้การขนส่งสินค้าประเภททางถนน 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)

ไม่ระบุ


18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

     ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

2. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

3. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

4. เครื่องมือการประเมิน

  1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

  2. แบบประเมินจากการสัมภาษณ์

   ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน




ยินดีต้อนรับ