หน่วยสมรรถนะ
สังเกตและประเมินสุขภาพช้างเบื้องต้น
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | THR-UXXS-811A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | สังเกตและประเมินสุขภาพช้างเบื้องต้น |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
9332 ควาญช้าง |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้น โดยสามารถสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้างได้ สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง รวมทั้งสังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้างที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพของช้างได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
คนเลี้ยงช้าง ควาญช้าง |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
- สัตวบาล (ช้าง) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. พรบ ป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
30101.01 สังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง |
1. สังเกตและประเมินผิวหนังของช้างเพื่่อตรวจหาความผิดปกติที่ปรากฎเห็นภายนอก |
30101.01.01 | 149462 |
30101.01 สังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง |
2. สังเกตและประเมินเล็บและฝ่าตีน |
30101.01.02 | 149463 |
30101.01 สังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง |
3. สังเกตและประเมินตาช้างว่ามีความผิดปกติในดวงตาหรือไม่ |
30101.01.03 | 149464 |
30101.02 สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง |
1. สังเกตถึงท่าทางและการแสดง ออกของช้างว่าเป็นปกติหรือไม่ |
30101.02.01 | 149465 |
30101.02 สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง |
2. สังเกตการกินอาหารและน้ำ การขับถ่าย ในเชิงของปริมาณและความถี่ |
30101.02.02 | 149466 |
30101.02 สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง |
3. สังเกตการการนอน |
30101.02.03 | 149467 |
30101.02 สังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง |
4. สังเกตพฤติกรรมที่เกิดจากโรค |
30101.02.04 | 149468 |
30101.03 สังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้าง |
1. สังเกตและประเมินลักษณะทางกายภาพของสิ่งขับถ่ายของช้างได้ |
30101.03.01 | 149469 |
30101.03 สังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้าง |
2. สังเกตสารคัดหลั่งที่ออกจากร่างกายที่ผิดแผกไปจากปกติ |
30101.03.02 | 149470 |
30101.04 สังเกตและประเมินสภาพแวดล้อม และกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของช้าง |
1. ตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมและกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของช้าง |
30101.04.01 | 149471 |
30101.04 สังเกตและประเมินสภาพแวดล้อม และกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของช้าง |
2. ประเมินความเสี่ยงที่ส่งผลต่อสวัสดิภาพของช้างได้ |
30101.04.02 | 149472 |
30101.04 สังเกตและประเมินสภาพแวดล้อม และกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของช้าง |
3. ลดความเสี่ยงเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของช้างได้ |
30101.04.03 | 149473 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - ทักษะในการสังเกตและประเมินลักษณะกายภาพภายนอกของตัวช้าง เช่น การระบุถึงอวัยวะ และ/หรือ ส่วนของร่างกาย และ/หรือ ตำแหน่ง กายภาพภายนอกช้างที่พึ่งต้องสังเกตและประเมินได้ การบ่งชี้ถึง บาดแผล; ตำแหน่ง ขนาด ลักษณะและองค์ประกอบของบาดแผล เช่น เลือด หนอง เนื้อตาย สี กลิ่น หนอนแมลง ความสกปรก บ่งชี้ถึง สิ่งแปลกปลอมหรือความผิดปกติอื่นๆ ที่สามารถเห็นได้จากภายนอก เช่น กิ่งไม้ เศษไม้ เศษวัสดุต่างๆ ที่อาจจะปรากฎบนร่างกายของช้าง การสั่นกระตุก เกร็ง ชัก ของส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของร่างกาย เป็นต้น (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ความรู้เกี่ยวกับวิธีการสังเกตและประเมินลักษณะกายภาพภายนอกของตัวช้าง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตการปฏิบัติงานในการสังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ สังเกตและประเมินสุขภาพของช้างเบื้องต้นจากลักษณะบ่งชี้ทางกายภาพภายนอกของตัวช้าง โดยสังเกตและประเมินผิวหนังของช้างเพื่่อตรวจหาความผิดปกติที่ปรากฎเห็นภายนอก เช่น บาดแผล ปรสิตภายนอก ฝี การบวม การช้ำ สิ่งแปลกปลอมหรือความผิดปกติต่างที่เห็นได้จากภายนอก เป็นต้น สังเกตและประเมินเล็บและฝ่าตีน เช่น เล็บยาวผิดปกติหรือไม่ มีรอยแตกหรือบาดแผลหรือไม่ สีของเล็บ ไรเล็บหนาหรือแตกหรือมีแผล ความหนาของชั้นฝ่าตีน เป็นต้น รวมทั้งสังเกตและประเมินตาช้างว่ามีความผิดปกติในดวงตาหรือไม่ เช่น น้ำตาไหลผิดปกติ มีขนตายาวผิดปกติหรือไม่ การสังเกตและประเมินพฤติกรรมช้างที่สัมพันธ์กับสุขภาพของช้าง โดยสังเกตถึงท่าทางและการแสดงออกของช้าง การกินอาหารและน้ำ การขับถ่าย ในเชิงของปริมาณและความถี่ การนอน และพฤติกรรมที่เกิดจากโรค เช่น อาการคัน อาการเจ็บปวด อาการทางระบบประสาท เป็นต้น รวมถึงการสังเกตและประเมินสิ่งผิดปกติจากตัวช้าง โดยสังเกตและประเมินลักษณะทางกายภาพของสิ่งขับถ่ายของช้าง เช่น ปัสสาวะ โดยสังเกต สี ความขุ่นใส ตระกอน กลิ่น และสิ่งแปลกปลอม หรือมูล โดยสังเกตลักษณะเนื้อมูล กลิ่น สี สิ่งแปลกปลอม และอาหารที่ไม่ย่อย เป็นต้น รวมทั้งการสังเกตสารคัดหลั่งที่ออกจากร่างกาย เช่น น้ำตา น้ำลาย เมือกจากอวัยวะสืบพันธุ์ เลือด เป็นต้น ที่ผิดแผกไปจากปกติ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 สอบสัมภาษณ์ |